ตรวจสอบอาคาร

บริการรับ ตรวจสอบอาคาร คอนโด โรงงาน โรงแรม ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เพื่อยื่นขอใบรับรองการตรวจสอบอาคาร ร.1 ประจำปี โดยวิศวกร เรามุ่งมั่นพัฒนาทีมงาน เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการทำงานเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด รวดเร็วตามแผนงาน ด้วยราคาที่เหมาะสม ควบคู่กับมาตรฐานและกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีเป้าหมายสูงสุดของการตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อให้เกิดความความปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย สุขภาพ และ ทรัพย์สิน โดยการตรวจสอบใหญ่จะเพิ่มรายละเอียดการตรวจและเพิ่มรายงานมากกว่าการตรวจสอบประจำปี แต่ไม่เพิ่มราคา

ตรวจสอบความปลอดภัยใช้งานอาคาร ตรวจสอบอาคาร โดยวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรและได้รับใบอนุญาตผู้ตรวจสอบอาคารจากกรมโยธาธิการและผังเมือง 

รวจสอบอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ตรวจสอบอาคาร คือการตรวจสอบสภาพอาคารด้านความมั่นคงแข็งแรงของอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้อาคารและสร้างความปลอดภัยในการใช้อาคารอย่างถูกต้องอุปกรณ์ของงานวิศวกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของงานในอาคาร ประกอบด้วยระบบบริการและอำนวยความสะดวก ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ปกติมีราคาสูง ซึ่งเราจะต้องใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฏหมาย มาตรฐาน โดยการตรวจสอบนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้งานได้ตามปกติ หากเจ้าของอาคารได้รับใบรับรองการ ตรวจสอบอาคาร ร.1 ไม่ได้หมายความว่าอาคารหลังนั้นถูกกฎหมายไปด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังคงมีอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ ในการตรวจสอบตามกฎหมายอยู่ซึ่งสามารถออก ตรวจสอบอาคาร และออกคำสั่งให้อาคารที่ยังผิดกฎหมายแก้ไขให้ถูกต้องได้เหมือนเดิม ตรวจสอบอาคาร จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในเรื่องการตรวจสอบการใช้อาคารอย่างปลอดภัย

ตรวจสอบอาคาร และทำรายงานการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร

1. การ ตรวจสอบตัวอาคาร ให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร
   2.1 ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
   2.2 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
   2.3 ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
3. การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการอพยพ
4. การตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร

ข้อมูลประกอบการเสนอราคา ตรวจสอบอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

1. ชื่อ-ที่อยู่ นิติบุคคลอาคารชุด หรือ ชื่อ-ที่อยู่ อาคาร / โรงงาน / โรงแรม
2. จำนวนอาคารที่ต้องการตรวจสอบ
3. จำนวนชั้น, จำนวนห้อง (กรณีอาคารชุด), พื้นที่รวมของแต่ละอาคาร (ตารางเมตร)
4. จำนวนบันไดต่อเนื่องที่นำคนออกสู่ชั้นพื้นดิน ของแต่ละอาคารมี 2 หรือ 3 หรือ 4 บันได (ไม่รวมบันไดลานจอดรถ)
5. จำนวน Fire Pump, Generator, Pressurize Fan (ถ้ามี)
6. เป็นการตรวจสอบใหญ่ หรือ การตรวจสอบประจำปีครั้งที่เท่าไร (1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4)
7. สำเนาหรือภาพถ่าย ใบ ร.1 ของอาคาร (ถ้ามี)
8. สำเนาหรือภาพถ่าย ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และใบรับรองการก่อสร้างอาคาร (ถ้ามี)

ขอข้อมูลเท่าที่มีครับ

ติดต่อสอบถาม ขอใบเสนอราคาตรวจสอบอาคาร   

หรือ ติดต่อสอบถาม 

Tel : 092-661-9625

หรือ เพิ่มเพื่อน LINE จากเบอร์โทร

หรือ LINE กรณ์ : Add Friends 

 

หรือ ติดต่อสอบถามทางเมล ซีเคนโซ

Email : info@ckenso.com

Tel : 061-545-6926

 

อาคารที่ต้องตรวจสอบตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 

 มาตรา 32 ทวิ เจ้าของอาคาร ดังต่อไปนี้
(1) อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
(2) อาคารชุมนุมคน
(3) อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และการจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกันอันตรายเมื่อมีเหตุชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องกล หรือระบบอื่น ๆ ของอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาผลการตรวจสอบสภาพอาคารตามวรรคหนึ่งโดยมิชักช้า เพื่อพิจารณาออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารหรือดำเนินการตามมาตรา 46 หรือมาตรา 46 ทวิ แล้วแต่กรณี ต่อไป
(“มาตรา 32 ทวิ” บัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 17)

     มาตรา ๓๒ ตรี เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารชนิดหรือประเภทตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ (๑๖) ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและจำนวนเงินเอาประกันภัยที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร
(“มาตรา 32 ตรี” บัญญัติเพิ่มโดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 4)

อาคาร 9 ประเภทที่ต้อง ตรวจสอบอาคาร

1. อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่ว หรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)

2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ  (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคาร หรือส่วนใดของอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการประเภทเดียว หรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป)

3. อาคารชุมนุมคน (อาคาร หรือส่วนใดของอาคาร ที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)

4. โรงมหรสพ (อาคาร หรือส่วนใดของอาคาร ที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)

5. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตังแต่ 80 ห้องขึ้นไป

6. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย สำหรับหลายครอบครัว โดยจะแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

– กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555

– กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกัน ในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบ และส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553

7. อาคารโรงงาน ที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

8. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

9. ป้าย สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติด หรือตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

กฎหมายควบคุมอาคาร 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Home      

About         

ตรวจสอบอาคารชุด

ตรวจสอบอาคารชุด

บริการรับ ตรวจสอบอาคารชุด คอนโด โรงงาน โรงแรม ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เพื่อยื่นขอใบรับรองการ ตรวจสอบอาคาร ร.1 ประจำปี โดยวิศวกร เรามุ่งมั่นพัฒนาทีมงาน เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการทำงานเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด รวดเร็วตามแผนงาน ด้วยราคาที่เหมาะสม ควบคู่กับมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานวิศวกรรมและกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีเป้าหมายสูงสุดของการตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อให้เกิดความความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ และ ทรัพย์สิน โดยการตรวจสอบใหญ่จะเพิ่มรายละเอียดการตรวจและเพิ่มรายงานมากกว่าการตรวจสอบประจำปี แต่ไม่เพิ่มราคาตรวจสอบอาคาร

ตรวจสอบอาคารชุด ตรวจสอบความปลอดภัยใช้งานอาคารโดยวิศวกร ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรและได้รับใบอนุญาตผู้ตรวจสอบอาคารจากกรมโยธาธิการและผังเมือง

ตรวจสอบอาคารชุด เน้นการตรวจสอบเรื่องการดูแลและบำรุงรักษาระบบอุปกรณ์ ตามแผนการที่กำหนดไว้ในรายงานการตรวจสอบใหญ่ วัตถุประสงค์การตรวจสอบประจำปีนี้จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิต ทั้งชีวิตของผู้ใช้อาคารและพนักงานดับเพลิงและกู้ภัยเป็นสำคัญ เพื่อให้อาคารมีสภาพความปลอดภัยในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การตรวจสอบนี้จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ของงานวิศวกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของงานในอาคาร ประกอบด้วยระบบบริการและอำนวยความสะดวก ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ปกติมีราคาสูง ซึ่งเราจะต้องใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฏหมาย มาตรฐาน โดยการตรวจสอบนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้งานได้ตามปกติ

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้และมีคนเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่จะพบว่าเสียชีวิตเนื่องจาก ออกจากอาคารไม่ได้ เพราะประตูหนีไฟล็อค ทางหนีไฟถูกกีดขวาง ทางหนีไฟไม่เพียงพอ สับสนในทิศทางการอพยพ ทำให้การหนีไฟไม่ทัน จนกระทั่งเกิดการสำลักควันไฟ ขาดอากาศหายใจจนเป็นเหตูให้เสียชีวิตในที่สุด ประกอบกับที่อาคารไม่มีระบบควบคุมควันไฟ ทำให้ควันไฟได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ข้างเคียงหรือข้ามชั้นไปอย่างรวดเร็ว โดยไปตามช่องเปิดในแนวดิ่งที่ไม่ปิดกั้นด้วยวัสดุกันไฟลาม ไม่ว่าจะเป็นบันไดหนีไฟหรือช่องท่องานระบบ

                     ดังนั้นทางหนีไฟจึงถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จำเป็นต้องมีการออกแบบให้เพียงพอเหมาะสมต่อสภาพการใช้อาคาร ลักษณะของผู้ใช้อาคาร และเจ้าของอาคารต้องมีการดูแลรักษาอาคารและบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีการตรวจสอบอาคารชุด ระบบความปลอดภัยให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา หากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้อาคารก็ต้องคำนึงถึงการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้อาคารและความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยจากเดิมเป็นสำนักงานที่มีผู้ใช้อาคารจำนวนน้อย มาเป็นห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ มีจำนวนผู้ใช้อาคารเพิ่มมากขึ้น ก็ควรจะทบทวนเรื่องเส้นทางหนีไฟ ต้องจัดเตรียมให้เพียงพอเหมาะสม

                      ในส่วนของการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคาร และให้คำแนะนำแก่เจ้าของ ผู้ครอบครองอาคารในการปรับปรุงแก้ไขอาคารให้มีความปลอดภัย ต่อผู้ใช้สอยอาคาร ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขมิใช่ทำการตรวจสอบหรือทดสอบการทำงานของระบบอุปกรณ์ ต่าง ๆ แต่เป็นการตรวจด้วยสายตาเท่านั้น ตรวจการใช้งานโดยการค้นหาสิ่งผิดปกติ หรืออาการที่บ่งชี้ถึงความไม่ปลอดภัยของโครงสร้างและระบบอุปกรณ์ของอาคารโดยสังเกตุพินิจ ตรวจสมรรถนะของระบบความปลอดภัยให้สามารถพร้อมใช้งาน แนะนำความปลอดภัยตามกฎหมายและมาตรฐานให้เจ้าของอาคาร กำหนดกรอบและแผนการบำรุงรักษา การซ่อมบำรุง และการทดสอบ กำหนดกรอบและแผนการตรวจสอบประจำปี เพื่อให้อาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันอัคคีภัยและป้องกันอันตรายต่างๆทีมีผลต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากอุบัติภัยทางอาคาร อัคคีภัย การวิบัติของอาคารและเพื่อปกป้องผู้ใช้อาคาร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยในอาคาร

หลักเกณฑ์การ ตรวจสอบอาคารชุด หอพัก หรือ ตรวจสอบอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป

1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

1. มีการต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
2. มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
3. มีการเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
4. มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
5. มีการชำรุดสึกหรอของอาคาร
6. มีการวิบัติของโครงสร้างของอาคาร
7. มีการทรุดตัวของฐานรากอาคาร

การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงทั้ง 7 ข้อข้างต้น สังเกตดังนี้
ก. ไม่มีร่องรอยของการเสียรูปองค์อาคาร
ข. ไม่มีร่องรอยการทรุดตัว แตกร้าว หรือผุกร่อน
ค. ไม่มีความเสี่ยงของการหลุด ตกหล่น ของส่วนประกอบอาคารและอุปกรณ์อื่นๆ
ง. รูปทรงอาคารอยู่ในลักษณะตั้งตรงแนวดิ่ง

2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร

2.1 ลิฟต์และบันไดเลื่อน มีการตรวจและบำรุงรักษาเป็นประจำทุกปี
2.2 ระบบไฟฟ้า
– อุปกรณ์และสายไฟฟ้า ไม่อยู่สภาพเสี่ยงจากน้ำ กิ่งไม้สัมผัส และฉนวน ฉีกขาด
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าแรงปานกลางเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาแผงจ่ายไฟฟ้าเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาโคมไฟ เต้ารับไฟฟ้า และสายต่อพ่วงเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาระบบป้องกันฟ้าผ่าเป็นประจำ
2.3 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาถังเก็บน้ำประปาเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำประปาเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาท่อน้ำและวาล์วประปาเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาท่อน้ำเสียและอุปกรณ์ประกอบเป็นประจำ
–  มีการตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์และระบบบำบัดน้ำเสียรวมถึงบ่อดักไขมันเป็นประจำ
– มีการตรวจสอบบำรุงรักษาถังและท่อจ่ายก๊าซในครัวร้านค้าเป็นประจำ

3. ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยและการทดสอบสมรรถนะ

3.1 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นประจำและมีสมรรถนะในการตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัยได้อย่างทั่วถึงทั้งอาคาร
3.2 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาทางหนีไฟและอุปกรณ์ประกอบเป็นประจำและมีสมรรถนะในการอพยพ ตลอดเส้นทางหนีไฟจนถึงทางสาธารณะภายนอกอาคาร
ก. ทางออกทุกทางไม่มีสิ่งกีดขวาง กุญแจ โซ่ ล็อกขณะที่มีคนเข้าไป ใช้บริการ กรณีล็อกประตู อุปกรณ์ล็อกทำงานด้วยไฟฟ้า
ข. อปุกรณ์บังคับประตูให้ปิดใช้งานได้ดีและมีอุปกรณ์เปิดบานประตูทั้งสองด้าน ไม่ถูกล็อก กรณีล็อกประตู อุปกรณ์ล็อกทำงานด้วยไฟฟ้า
ค. มีการตรวจสอบบำรุงรักษาป้ายทางหนีไฟเป็นประจำ
ง. มีการตรวจสอบบำรุงรักษาโคมไฟฉุกเฉินเป็นประจำ
จ. มีการตรวจสอบทางปล่อยออกที่ชั้นพื้นดินให้มีความปลอดภัยขณะเกิดเพลิงไหม้เป็นประจำ
ฉ. มีการตรวจสอบแบบแปลนทางหนีไฟสอดคล้องกับสภาพอาคารในปัจจุบัน
3.3 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงมือถือเป็นประจำ
3.4 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาระบบดับเพลิงเป็นประจำ รวมทั้งท่อยืน สายฉีดน้ำ และหัวรับน้ำดับเพลิง

4. การบริหารจัดการความปลอดภัย

4.1 มีการปรับปรุงแผนและขั้นตอนในการอพยพออกจากอาคารในกรณีฉุกเฉิน
4.2 มีการซ้อมอพยพเป็นประจำและจัดให้มีผู้นำการอพยพให้เพียงพอ
4.3 มีการปฏิบัติและจดบันทึกงานบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

Home         

About       

ตรวจสอบอาคาร   

ระบบประกอบอาคาร

บริการรับตรวจอาคาร คอนโด โรงงาน โรงแรม ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เพื่อยื่นขอใบรับรองการ ตรวจสอบอาคาร ร.1 ประจำปี ตรวจอาคาร ระบบประกอบอาคาร โดยวิศวกร เรามุ่งมั่นพัฒนาทีมงาน เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการทำงานเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด รวดเร็วตามแผนงาน ด้วยราคาที่เหมาะสม ควบคู่กับมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานวิศวกรรมและกฎหมายควบคุมอาคาร โดยมีเป้าหมายสูงสุดของการตรวจสอบสภาพอาคารเพื่อให้เกิดความความปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย สุขภาพ และ ทรัพย์สิน โดยการตรวจสอบใหญ่จะเพิ่มรายละเอียดการตรวจและเพิ่มรายงานมากกว่าการตรวจสอบประจำปี แต่ไม่เพิ่มราคา

การตรวจสอบอาคาร อุปกรณ์ของงานวิศวกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของงานในอาคาร ระบบประกอบอาคาร ประกอบด้วยระบบบริการและอำนวยความสะดวก ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ปกติมีราคาสูง ซึ่งเราจะต้องใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฏหมาย มาตรฐาน โดยการตรวจสอบนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถใช้งานได้ตามปกติ

ความสูญเสียต่อชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้โดยเฉพาะอาคารที่มีคนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมากมีหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญคือ การสำลักควันไฟ เนื่องจากหนีออกนอกอาคารไม่ทัน ด้วยเหตุนี้อาคารต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีเส้นทางและสิ่งสนับสนุนอื่นๆ เพื่อให้สามารถอพยพออกจากอาคารได้อย่างทันท่วงทีและ ระบบประกอบอาคาร ที่ได้รับการบำรุงรักษาที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ทุกวันนี้ภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากอาคารใดขาดระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยที่ดี เมื่อเกิดภัยพิบัติอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่เพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน
– แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
– แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
– แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
– แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร

ระบบประกอบอาคาร

1. ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
ผู้ตรวจสอบอาคารจะเข้าไปตรวจสอบในส่วนของสภาพอุปกรณ์ ประสิทธิภาพการใช้งาน การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงที่ผ่านมา รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งานต่างๆ
– ระบบลิฟต์ บันไดเลื่อน
– ระบบไฟฟ้า
– ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์

ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้
– วัดหรือทดสอบแผงสวิตช์ที่ต้องใช้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตช์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่
– ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
– ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิตช์แผงควบคุมเพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์

2. ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ที่ใช้อาคารและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณข้างเคียง โดยปกติผู้ตรวจสอบอาคารจะตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ประสิทธิภาพการจัดการและการทำงานของระบบที่สำคัญจะต้องไม่สร้างมลพิษต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
– ระบบประปา
– ระบบระบายน้ำเสียและบำบัดน้ำเสีย
– ระบบระบายน้ำฝน
– ระบบจัดการมูลฝอย
– ระบบระบายอากาศ
– ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

ผู้ตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมดังนี้
– สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
– ความสะอาดของถังเก็บน้ำประปา

3. ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
อัคคีภัย เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่่เราไม่รู้ตัว อีกทั้งยังสร้างความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สินและความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบอย่างสูง ด้วยเหตุนี้อาคารต่างๆจึงจำเป็นต้องตรวจสอบระบบดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่เกิดเหตุการณ์จริง ทั้งในแง่ของการป้องกันและระงับอัคคีภัย
– บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
– เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
– ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
– ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
– ระบบลิฟต์ดับเพลิง
– ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
– ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
– ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและหัวฉีดน้ำดับเพลิง
– ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
– ระบบป้องกันฟ้าผ่า

บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางฉุกเฉิน
– ตรวจสอบสภาพราวจับและราวกันตก
– ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟบนเส้นทาง
– ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวางตลอดเส้นทาง จนถึงเส้นทางออกสู่ภายนอกอาคาร
– ตรวจสอบการปิด-เปิดประตู ตลอดเส้นทาง
– ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์

ระบบป้องกันฟ้าผ่า
– ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำต่อลงดิน ให้ครอบคลุมครบถ้วน
– ตรวจสอบระบบรากสายดิน
– ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์
– ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุงและการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง

ความมั่นคงและความแข็งแรงของอาคารเป็นสิ่งสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะผู้ใช้อาคารเพราะหากอาคารขาดความแข็งแรงปลอดภัย จะทำให้อาคารโค่น ทรุดและพังทลายลงมาในที่สุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของอาคารพังเสียหายนั้น อาจเกิดได้จากการที่อาคารดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว การต่อเติมดัดแปลงอาคาร การขาดการบำรุงรักษา เป็นต้น

ผู้ตรวจสอบอาคารจะตรวจสอบและพิจารณาตามสภาพที่เห็นและการใช้งาน หากว่าโครงสร้างอาคารมีการเสื่อมสภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ก็จะให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดูแลอาคารจัดการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
– ผู้ตรวจสอบจะดำเนินการตรวจสอบตามรายละเอียดดังนี้ ส่วนของฐานราก ระบบโครงสร้าง ระบบโครงหลังคา
– สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น การแอ่นตัวของพื้น คาน หรือตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ
– การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างอาคาร
– ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย ความเสียหายจากการแอ่นตัวของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนังเป็นต้น

โครงสร้างอาคารทางกายภาพ (Geometry Survey)

เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการตรวจสอบสภาพทางกายภาพด้านนอกและโดยรอบอาคารในส่วนที่มองเห็น การสำรวจหากพบความผิดปกติของอาคาร จะต้องมีการบันทึก ตรวจสอบวัดขนาดของอาคาร ตำแหน่งและรูปตัดของโครงสร้างหลักอาคาร เช่น เสา คาน พื้น โครงหลังคา เพื่อให้สามารถจัดทำแบบสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น

1. ตรวจสอบโครงสร้างอาคารเบื้องต้นด้วยสายตา (Visual Inspection)
เป็นการสำรวจเบื้องต้น โดยวิศวกรผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสำรวจใช้วิธีเดินสำรวจพื้นที่จริง โดยตรวจสอบด้วยสายตาของวิศวกรเพื่อหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ร่องรอยการแตกร้าวของผนังหรือส่วนโครงสร้างอาคาร ความผิดปกติของระดับพื้น วงกบประตู หน้าต่าง

2 ตรวจหารอยแตกร้าวของอาคาร (Visual Cracks)
รอยร้าวเป็นร่องรอยแสดงถึงความผิดปกติหรือความเสียหายของอาคาร เมื่อมีการพบรอยแตกร้าว ต้องมีการตรวจสอบโดยละเอียดถึงสาเหตุที่มาของรอยร้าว หากพบรอยแตกร้าวหลายรอยและหลายตำแหน่ง ต้องมีการเขียนแบบแสดงตำแหน่งของรอยร้าวเรียกว่า Crack Mapping เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวดังกล่าว

3 ตรวจวัดค่าการทรุดตัวของอาคาร (Leveling Survey)
เมื่อพบรอยแตกร้าว สาเหตุหลักมักจะเกิดจากการทรุดตัวของโครงสร้าง ดังนั้นวิศวกรจึงมักกำหนดให้ทำการตรวจสอบค่าระดับด้วยกล้องระดับ การตรวจสอบจะทำการวัดระดับพื้นที่ ระดับชั้นล่างสุด วัดค่าเป็นจุดๆกระจายเต็มพื้นที่ตรวจสอบและเพื่อความชัดเจนมักจะแสดงการทรุดตัวในรูปแบบสามมิติ หรือแสดงรูปตัดอาคารด้านที่มีปัญหาทรุดตัว เมื่อได้ค่าระดับของอาคาร จะทำให้ทราบว่าอาคารเกิดการทรุดตัวตำแหน่งใดบ้างและทรุดตัวต่างกันมากเพียงใด ซึ่งทำให้สามารถประเมินได้ว่าฐานรากตำแหน่งใดเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น

 

Home          

About         

ตรวจสอบอาคาร